เกิดอะไร กับสตรีวัยหมดระดู
วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556
0
ความคิดเห็น
หลายคนคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า คุณสุภาพสตรีเมื่อมีอายุมาก ก็จะมีวัยหนึ่งที่เรียกว่า “เลือดจะไปลมจะมา” ซึ่งผู้พูดคงจะให้ความหมายของคำว่าเลือดจะไปก็คือ สตรีวัยที่เลือดประจำเดือนหรือเลือดระดูกำลังจะหมดไป ส่วนลมจะมาก็คืออารมณ์ที่แปรปรวน (ไปในทางลบ) ในขณะที่ประจำเดือนเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงอาจมาไม่สม่ำเสมอและลดน้อยลง
ตัวผมเองไม่ได้มีความรู้ในเรื่องนี้มากเท่าใดนัก แต่จากการได้พูดคุยกับ “ศ.นพ.นิมิต เตชไกรชนะ” หัวหน้าหน่วยวิจัยสตรีวัยหมดระดู ภาควิชาสูติศาสตร์–นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรายการสุขภาพดี 4 วัย ซึ่งผมรับหน้าที่เป็นพิธีกรอยู่นั้น ได้ความรู้ที่มีประโยชน์มากมาย จึงนำเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังครับ
คุณหมอนิมิตอธิบายว่า คุณสุภาพสตรีที่เข้าใกล้วัยหมดระดูหรือหมดประจำเดือน ก็จะเริ่มมีประจำเดือนไม่ปกติ ที่เป็นเหตุนั้นก็เพราะฮอร์โมนในร่างกายเริ่มแกว่งขึ้น ๆ ลง ๆ ช่วงนี้เองจะทำให้คุณผู้หญิงเริ่มมีอารมณ์ที่ไม่ค่อยปกติ บางคนก็อาจจะมีอาการร้อนวูบวาบในตอนกลางคืน บ้างก็หลับ ๆ ตื่น ๆ ทำให้ในตอนเช้าอาจจะมีสมาธิไม่ค่อยดี หลง ๆ ลืม ๆ อารมณ์ไม่ค่อยมั่นคง และโกรธง่าย โมโหง่าย เป็นต้น
ต้องบอกว่าจริง ๆ แล้ว คุณผู้หญิงนั้นจะมีช่วงที่ร่างกายเปลี่ยนผ่านอยู่ 3 ช่วงด้วยกัน ช่วงแรก คือช่วงเริ่มเข้าวัยสาวเริ่มมีประจำเดือน ตอนนั้นฮอร์โมนก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลง ในระยะนั้นอารมณ์ก็จะไม่ค่อยคงเส้นคงวา
ช่วงที่ 2 คือระหว่างตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกก็จะเริ่มมีอารมณ์หวั่นไหวง่าย พอหลังคลอดฮอร์โมนลดลงก็จะมีอาการซึมเศร้า ก็เป็นระยะที่อารมณ์หวั่นไหวอีกช่วงหนึ่ง
ช่วงที่ 3 คือเข้าวัยทอง เป็นช่วงที่ฮอร์โมนขึ้น ๆ ลง ๆ ประจำเดือนค่อย ๆ ลดลงจนหมด ก็เป็นอีกระยะหนึ่งที่อาจมีปัญหาได้
เพราะฉะนั้นใครที่พูดว่าผู้หญิงนั้นเจ้าอารมณ์ ผมคงต้องบอกว่าเขาไม่ได้แกล้งทำนะครับ แต่เพราะฮอร์โมนทำให้เป็นเช่นนั้น เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว ผู้อยู่ใกล้ชิดจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจครับ เพราะแต่ละคนก็มีความเครียดและมีเรื่องเข้ามากระทบตลอดเวลา ซึ่งในสถานการณ์ปกติเขาจะสามารถรับมือและจัดการกับมันได้ เพียงแต่ในช่วงที่ฮอร์โมนร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดความรู้สึกเปราะบางและควบคุมตัวเองได้ยากขึ้น ตรงนี้ถ้าคนที่อยู่รอบข้างเข้าใจก็จะรู้ว่ามันเป็นระยะเปลี่ยนผ่านที่ทำให้ควบคุมตัวเองได้ยาก...แต่สิ่งสำคัญเหนืออื่นใดคือเจ้าตัวจะต้องรู้ตัวเองว่ากำลังไม่ปกติ สามารถจับอารมณ์ตัวเองได้ รู้ตัวเองว่ากำลังจะโมโหหรือแสดงอารมณ์ออกมามากเกินไปหรือไม่ แบบนี้จะทำให้สามารถควบคุมตัวเองได้ง่ายขึ้น ส่งผลกระทบกับบุคคลใกล้ตัวน้อยลง
การที่ฮอร์โมนลดลงส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ถึง 4 ระบบด้วยกันคือ
1. ระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้ผู้หญิงมีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากตอนกลางคืน เป็นต้น
2. ระบบที่มีผลต่อจิตใจและอารมณ์ เช่น อาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้า โกรธง่าย คุมตัวเองไม่ได้ ไม่กล้าอยู่คนเดียว บางครั้งผุดลุกผุดนั่ง วิตกกังวล บางรายอาจมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ ไปบ้าง เพราะในช่วงกลางคืนมีอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ ทำให้เช้าขึ้นมามีสมาธิที่ไม่ค่อยดี หงุดหงิดง่าย พานให้หลง ๆ ลืม ๆ ไปได้ชั่วขณะ ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องหรือเป็นอาการเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์แต่อย่างใด
3. ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ คือจะมีช่องคลอดแห้ง หรืออาจติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ง่าย เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย
4. กลุ่มอาการทั่ว ๆ ไป เช่น มือเท้าชา ผิวแห้ง เหมือนแมลงไต่ตามตัว
ที่กล่าวมาทั้ง หมดนี้ยังไม่รวมถึงผลในระยะยาวที่ได้ยินกันบ่อยและกลัวกันมากก็คือเรื่อง “โรคกระดูกพรุน” ครับ ศ.นพ.นิมิต ให้ความเห็น ทั้งนี้เนื่องจากในร่างกายคนเราจะมีกระบวนการสลายกระดูกเก่าโดยใช้เวลาประมาณ 3– 6 สัปดาห์ จากนั้นจะมีเซลล์อีกหนึ่งตัวที่มาช่วยเสริมสร้างกระดูกใหม่ ซึ่งการสร้างนี้ใช้เวลา 3–6 เดือน ในช่วงอายุน้อย ๆ การสร้างกระดูกจะมากกว่าการสลาย ทำให้มวลกระดูกของคนเราค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนอายุ 30 ปีจะมีมวลกระดูกสูงที่สุด จากนั้นจะค่อย ๆ ลดลง ซึ่งในผู้หญิงวัยสาวร่างกายจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นตัวยับยั้งไม่ให้เซลล์สลายกระดูกทำงานถี่เกินไป จึงช่วยรักษาสมดุลระหว่างการสลายกระดูกเก่าและเสริมสร้างกระดูกใหม่ แต่เมื่อเข้าวัยทองร่างกายขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน เซลล์สลายกระดูกก็จะทำงานเร็วขึ้น การสร้างกระดูกไม่ทัน ผลก็คือโรคกระดูกพรุนถามหาครับ
แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้หญิงทุกคนที่เข้าสู่วัยทองจะต้องมีโรคกระดูกพรุนนะครับ อันนี้ขึ้นกับพฤติกรรมสุขภาพ เช่น ถ้าในวัยสาวเรามีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถสะสมมวลกระดูกได้สูง เมื่อเข้าวัยทองสูญเสียมวลกระดูกช้า ๆ โอกาสที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนก็จะน้อย แต่ถ้าสาว ๆ ไม่ดูแลตัวเอง ปล่อยให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ไม่ออกกำลังกาย ไม่โดนแดดบ้าง ก็จะทำให้มวลกระดูกเพิ่มขึ้นน้อย และพอเข้าวัยทองมีการสูญเสียมวลกระดูกเร็ว ก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้สูง
ในเรื่องการรักษาอาการของสตรีวัยทองทั้งอาการทางอารมณ์ และอาการทางกายอย่างโรคกระดูกพรุนนั้น คุณหมอนิมิตอธิบายให้ฟังว่า
“จริง ๆ แล้วอาการทางอารมณ์ของสตรีวัยทองที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากเรื่องของฮอร์โมนที่เริ่มแกว่ง ในกลุ่มนี้ถ้าจะไปพบจิตแพทย์เพื่อการบำบัดก็ไม่ได้ช่วยมากนัก ดังนั้นในช่วงแรกแพทย์ต้องดูว่าจะใช้ฮอร์โมนเพื่อช่วยปรับให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่แกว่งมากเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลา 1–2 เดือน ฮอร์โมนก็จะเข้าที่ จากนั้นถ้าคนไข้สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้นและนิ่งขึ้นได้ใน 3 เดือน ก็จะเข้าสู่การรักษาขั้นที่ 2 คือการจัดการกับความเครียด เพราะสิ่งที่มากระทบจิตใจนั้นเป็นเรื่องสำคัญ จะสั่งให้ไม่เครียดก็คงไม่ได้ แต่วิธีการที่ดีและง่ายที่สุดก็คือการออกกำลังกาย ส่วนขั้นที่ 3 ซึ่งยากที่สุดก็คือการให้คนไข้ปรับบุคลิกภาพและการมองโลก เพราะ การมองโลกในแง่ลบนั้นมีผลกระทบต่ออารมณ์และความรู้สึกเป็นอย่างมาก ส่งผลให้อาการวัยทองเป็นมากขึ้นได้...การจัดการกับความเครียดหรือเปลี่ยนมุมมองนั้นอาจเป็นเรื่องยากสำหรับหลายคนครับ จึงมองว่าการทานยานั้นง่ายกว่า แต่ต้องบอกว่าถ้าจะรักษาที่ต้นตอของสาเหตุการหายจะถาวรกว่า เพราะผมไม่เชื่อว่าคนเราจะมีสุขภาพดีและแข็งแรงได้ถ้าอยู่กับยาไปตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นการใช้ยาเป็นเพียงเครื่องมือในช่วงแรกที่ช่วยให้คนไข้กลับมาใกล้เคียงกับปกติได้ก่อน แต่หลังจากนั้นการฝึกตัวเองจะช่วยให้ควบคุมและอยู่กับอาการวัยทองไปจนตลอดรอดฝั่งได้”
ถึงตรงนี้หลายคนสงสัยว่าถ้าเกิดโรคกระดูกพรุนขึ้นแล้วจะรักษาอย่างไร สิ่งแรกเลยก็คือต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพครับ เช่น คนที่เคยสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือดื่มกาแฟมากเกินไป ไม่ออกกำลังกาย ไม่ออกไปสัมผัสกับแสงแดดบ้าง ก็ต้องปรับเปลี่ยนครับ แต่ในรายที่กระดูกพรุนมาก ๆ แล้ว ก็จำเป็นต้องใช้ยาครับ ซึ่งข้อเสียของยาก็คือมีราคาแพง ต้องใช้ต่อเนื่องระยะยาว และมีผลข้างเคียง ดังนั้นถ้าเป็นไปได้เริ่มต้นป้องกันตั้งแต่ก่อนกระดูกจะพรุนจะดีกว่าครับ
จริง ๆ แล้วถ้าคนเรามีความรู้ทางด้านสุขภาพพอประมาณ เราก็สามารถเป็นหมอให้ตัวเองได้ เพราะไม่มีหมอคนไหนรู้จักเราและรักเราเท่ากับตัวเราเอง เพราะฉะนั้นการมีความรู้ด้านการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพนั้น จะทำให้เราสามารถดูแลตัวเองได้ตั้งแต่ต้น แต่ถ้าเราปล่อยจนเป็นโรคร้ายแรงแล้ว ตรงนั้นต้องไปหาหมอแล้วล่ะครับ และต้องหาหมอที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายก็จะสูงมากตามไปด้วย เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างทั้งการกินการอยู่การใช้ชีวิต ถ้าเราเริ่มต้นดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้...ดีกว่ามารักษาในวันหน้าแน่นอนครับ.
หลายคนคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า คุณสุภาพสตรีเมื่อมีอายุมาก ก็จะมีวัยหนึ่งที่เรียกว่า “เลือดจะไปลมจะมา” ซึ่งผู้พูดคงจะให้ความหมายของคำว่าเลือดจะไปก็คือ สตรีวัยที่เลือดประจำเดือนหรือเลือดระดูกำลังจะหมดไป ส่วนลมจะมาก็คืออารมณ์ที่แปรปรวน (ไปในทางลบ) ในขณะที่ประจำเดือนเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงอาจมาไม่สม่ำเสมอและลดน้อยลง
ตัวผมเองไม่ได้มีความรู้ในเรื่องนี้มากเท่าใดนัก แต่จากการได้พูดคุยกับ “ศ.นพ.นิมิต เตชไกรชนะ” หัวหน้าหน่วยวิจัยสตรีวัยหมดระดู ภาควิชาสูติศาสตร์–นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรายการสุขภาพดี 4 วัย ซึ่งผมรับหน้าที่เป็นพิธีกรอยู่นั้น ได้ความรู้ที่มีประโยชน์มากมาย จึงนำเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังครับ
คุณหมอนิมิตอธิบายว่า คุณสุภาพสตรีที่เข้าใกล้วัยหมดระดูหรือหมดประจำเดือน ก็จะเริ่มมีประจำเดือนไม่ปกติ ที่เป็นเหตุนั้นก็เพราะฮอร์โมนในร่างกายเริ่มแกว่งขึ้น ๆ ลง ๆ ช่วงนี้เองจะทำให้คุณผู้หญิงเริ่มมีอารมณ์ที่ไม่ค่อยปกติ บางคนก็อาจจะมีอาการร้อนวูบวาบในตอนกลางคืน บ้างก็หลับ ๆ ตื่น ๆ ทำให้ในตอนเช้าอาจจะมีสมาธิไม่ค่อยดี หลง ๆ ลืม ๆ อารมณ์ไม่ค่อยมั่นคง และโกรธง่าย โมโหง่าย เป็นต้น
ต้องบอกว่าจริง ๆ แล้ว คุณผู้หญิงนั้นจะมีช่วงที่ร่างกายเปลี่ยนผ่านอยู่ 3 ช่วงด้วยกัน ช่วงแรก คือช่วงเริ่มเข้าวัยสาวเริ่มมีประจำเดือน ตอนนั้นฮอร์โมนก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลง ในระยะนั้นอารมณ์ก็จะไม่ค่อยคงเส้นคงวา
ช่วงที่ 2 คือระหว่างตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกก็จะเริ่มมีอารมณ์หวั่นไหวง่าย พอหลังคลอดฮอร์โมนลดลงก็จะมีอาการซึมเศร้า ก็เป็นระยะที่อารมณ์หวั่นไหวอีกช่วงหนึ่ง
ช่วงที่ 3 คือเข้าวัยทอง เป็นช่วงที่ฮอร์โมนขึ้น ๆ ลง ๆ ประจำเดือนค่อย ๆ ลดลงจนหมด ก็เป็นอีกระยะหนึ่งที่อาจมีปัญหาได้
เพราะฉะนั้นใครที่พูดว่าผู้หญิงนั้นเจ้าอารมณ์ ผมคงต้องบอกว่าเขาไม่ได้แกล้งทำนะครับ แต่เพราะฮอร์โมนทำให้เป็นเช่นนั้น เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว ผู้อยู่ใกล้ชิดจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจครับ เพราะแต่ละคนก็มีความเครียดและมีเรื่องเข้ามากระทบตลอดเวลา ซึ่งในสถานการณ์ปกติเขาจะสามารถรับมือและจัดการกับมันได้ เพียงแต่ในช่วงที่ฮอร์โมนร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดความรู้สึกเปราะบางและควบคุมตัวเองได้ยากขึ้น ตรงนี้ถ้าคนที่อยู่รอบข้างเข้าใจก็จะรู้ว่ามันเป็นระยะเปลี่ยนผ่านที่ทำให้ควบคุมตัวเองได้ยาก...แต่สิ่งสำคัญเหนืออื่นใดคือเจ้าตัวจะต้องรู้ตัวเองว่ากำลังไม่ปกติ สามารถจับอารมณ์ตัวเองได้ รู้ตัวเองว่ากำลังจะโมโหหรือแสดงอารมณ์ออกมามากเกินไปหรือไม่ แบบนี้จะทำให้สามารถควบคุมตัวเองได้ง่ายขึ้น ส่งผลกระทบกับบุคคลใกล้ตัวน้อยลง
การที่ฮอร์โมนลดลงส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ถึง 4 ระบบด้วยกันคือ
1. ระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้ผู้หญิงมีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากตอนกลางคืน เป็นต้น
2. ระบบที่มีผลต่อจิตใจและอารมณ์ เช่น อาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้า โกรธง่าย คุมตัวเองไม่ได้ ไม่กล้าอยู่คนเดียว บางครั้งผุดลุกผุดนั่ง วิตกกังวล บางรายอาจมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ ไปบ้าง เพราะในช่วงกลางคืนมีอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ ทำให้เช้าขึ้นมามีสมาธิที่ไม่ค่อยดี หงุดหงิดง่าย พานให้หลง ๆ ลืม ๆ ไปได้ชั่วขณะ ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องหรือเป็นอาการเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์แต่อย่างใด
3. ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ คือจะมีช่องคลอดแห้ง หรืออาจติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ง่าย เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย
4. กลุ่มอาการทั่ว ๆ ไป เช่น มือเท้าชา ผิวแห้ง เหมือนแมลงไต่ตามตัว
ที่กล่าวมาทั้ง หมดนี้ยังไม่รวมถึงผลในระยะยาวที่ได้ยินกันบ่อยและกลัวกันมากก็คือเรื่อง “โรคกระดูกพรุน” ครับ ศ.นพ.นิมิต ให้ความเห็น ทั้งนี้เนื่องจากในร่างกายคนเราจะมีกระบวนการสลายกระดูกเก่าโดยใช้เวลาประมาณ 3– 6 สัปดาห์ จากนั้นจะมีเซลล์อีกหนึ่งตัวที่มาช่วยเสริมสร้างกระดูกใหม่ ซึ่งการสร้างนี้ใช้เวลา 3–6 เดือน ในช่วงอายุน้อย ๆ การสร้างกระดูกจะมากกว่าการสลาย ทำให้มวลกระดูกของคนเราค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนอายุ 30 ปีจะมีมวลกระดูกสูงที่สุด จากนั้นจะค่อย ๆ ลดลง ซึ่งในผู้หญิงวัยสาวร่างกายจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นตัวยับยั้งไม่ให้เซลล์สลายกระดูกทำงานถี่เกินไป จึงช่วยรักษาสมดุลระหว่างการสลายกระดูกเก่าและเสริมสร้างกระดูกใหม่ แต่เมื่อเข้าวัยทองร่างกายขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน เซลล์สลายกระดูกก็จะทำงานเร็วขึ้น การสร้างกระดูกไม่ทัน ผลก็คือโรคกระดูกพรุนถามหาครับ
แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้หญิงทุกคนที่เข้าสู่วัยทองจะต้องมีโรคกระดูกพรุนนะครับ อันนี้ขึ้นกับพฤติกรรมสุขภาพ เช่น ถ้าในวัยสาวเรามีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถสะสมมวลกระดูกได้สูง เมื่อเข้าวัยทองสูญเสียมวลกระดูกช้า ๆ โอกาสที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนก็จะน้อย แต่ถ้าสาว ๆ ไม่ดูแลตัวเอง ปล่อยให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ไม่ออกกำลังกาย ไม่โดนแดดบ้าง ก็จะทำให้มวลกระดูกเพิ่มขึ้นน้อย และพอเข้าวัยทองมีการสูญเสียมวลกระดูกเร็ว ก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้สูง
ในเรื่องการรักษาอาการของสตรีวัยทองทั้งอาการทางอารมณ์ และอาการทางกายอย่างโรคกระดูกพรุนนั้น คุณหมอนิมิตอธิบายให้ฟังว่า
“จริง ๆ แล้วอาการทางอารมณ์ของสตรีวัยทองที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากเรื่องของฮอร์โมนที่เริ่มแกว่ง ในกลุ่มนี้ถ้าจะไปพบจิตแพทย์เพื่อการบำบัดก็ไม่ได้ช่วยมากนัก ดังนั้นในช่วงแรกแพทย์ต้องดูว่าจะใช้ฮอร์โมนเพื่อช่วยปรับให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่แกว่งมากเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลา 1–2 เดือน ฮอร์โมนก็จะเข้าที่ จากนั้นถ้าคนไข้สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้นและนิ่งขึ้นได้ใน 3 เดือน ก็จะเข้าสู่การรักษาขั้นที่ 2 คือการจัดการกับความเครียด เพราะสิ่งที่มากระทบจิตใจนั้นเป็นเรื่องสำคัญ จะสั่งให้ไม่เครียดก็คงไม่ได้ แต่วิธีการที่ดีและง่ายที่สุดก็คือการออกกำลังกาย ส่วนขั้นที่ 3 ซึ่งยากที่สุดก็คือการให้คนไข้ปรับบุคลิกภาพและการมองโลก เพราะ การมองโลกในแง่ลบนั้นมีผลกระทบต่ออารมณ์และความรู้สึกเป็นอย่างมาก ส่งผลให้อาการวัยทองเป็นมากขึ้นได้...การจัดการกับความเครียดหรือเปลี่ยนมุมมองนั้นอาจเป็นเรื่องยากสำหรับหลายคนครับ จึงมองว่าการทานยานั้นง่ายกว่า แต่ต้องบอกว่าถ้าจะรักษาที่ต้นตอของสาเหตุการหายจะถาวรกว่า เพราะผมไม่เชื่อว่าคนเราจะมีสุขภาพดีและแข็งแรงได้ถ้าอยู่กับยาไปตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นการใช้ยาเป็นเพียงเครื่องมือในช่วงแรกที่ช่วยให้คนไข้กลับมาใกล้เคียงกับปกติได้ก่อน แต่หลังจากนั้นการฝึกตัวเองจะช่วยให้ควบคุมและอยู่กับอาการวัยทองไปจนตลอดรอดฝั่งได้”
ถึงตรงนี้หลายคนสงสัยว่าถ้าเกิดโรคกระดูกพรุนขึ้นแล้วจะรักษาอย่างไร สิ่งแรกเลยก็คือต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพครับ เช่น คนที่เคยสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือดื่มกาแฟมากเกินไป ไม่ออกกำลังกาย ไม่ออกไปสัมผัสกับแสงแดดบ้าง ก็ต้องปรับเปลี่ยนครับ แต่ในรายที่กระดูกพรุนมาก ๆ แล้ว ก็จำเป็นต้องใช้ยาครับ ซึ่งข้อเสียของยาก็คือมีราคาแพง ต้องใช้ต่อเนื่องระยะยาว และมีผลข้างเคียง ดังนั้นถ้าเป็นไปได้เริ่มต้นป้องกันตั้งแต่ก่อนกระดูกจะพรุนจะดีกว่าครับ
จริง ๆ แล้วถ้าคนเรามีความรู้ทางด้านสุขภาพพอประมาณ เราก็สามารถเป็นหมอให้ตัวเองได้ เพราะไม่มีหมอคนไหนรู้จักเราและรักเราเท่ากับตัวเราเอง เพราะฉะนั้นการมีความรู้ด้านการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพนั้น จะทำให้เราสามารถดูแลตัวเองได้ตั้งแต่ต้น แต่ถ้าเราปล่อยจนเป็นโรคร้ายแรงแล้ว ตรงนั้นต้องไปหาหมอแล้วล่ะครับ และต้องหาหมอที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายก็จะสูงมากตามไปด้วย เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างทั้งการกินการอยู่การใช้ชีวิต ถ้าเราเริ่มต้นดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้...ดีกว่ามารักษาในวันหน้าแน่นอนครับ
ที่มา
- นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
- www.dailynews.co.th
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น